Gamification: องค์ประกอบของเกม

#Gamification ตอนที่9

การจะเข้าใจเรื่องหลักการใช้ของ เกมมิฟิเคชั่น ต้องยอมรับว่าเราคงต้องมาทำความใจเรื่องเกมกันด้วย
ก็ไม่ต้องเข้าใจลึกมากถึงขั้นการออกแบบเกม แต่ก็ควรที่จะต้องรู้องค์ประกอบของเกมไว้บ้าง

ทั้งนี้เพราะ เรากำลังจะเอาความเป็นเกมไปปรับใช้ในสิ่งที่ไม่ใช่เกม

จริง ๆ เรื่ององค์ประกอบของเกม ก็มีหลายตำรา แต่ที่ผมชอบเป็นการส่วนตัวก็ จากหนังสือ Reality is Broken ของ Jane McGonigal ได้ให้ข้อสรุปไว้น่าสนใจว่าเกมต้องมีอยู่ 4 อย่างคือ

  1. Goal (เป้าหมาย)

คือสิ่งรวบยอดทั้งหมดของเกมที่ทำให้ผู้เล่นรู้ตัวว่าต้องทำอะไร ซึ่งโดยปกติเป้าหมายของเกมจะหมายถึงวิธีการได้รับชัยชนะ อย่างเช่นเกมมาริโอ้ที่เป้าหมายคือ ชนะเกมด้วยไปช่วยเจ้าหญิงให้ได้ในด่านสุดท้าย

  • Rules (กติกา)

คือสิ่งที่ทำให้ผู้เล่นรู้ว่า สามารถทำอะไรได้บ้าง และ ไม่สามารถทำอะไรได้ เช่น มาริโอ้ที่ เราสามารถกระโดดได้ วิ่งได้ แต่จะตายถ้าตกเหว หรือ ชน monster รวมถึงกินเห็ดแล้วตัวใหญ่ กินดอกไม้ไห้แล้วจะยิงลูกไฟได้ นอกจากนี้ยังมีกติกาอื่นๆ เช่น ต้องรีบจบแต่ละด่านให้ได้ก่อนเวลาหมด เป็นต้น

Feedback system (การแสดงตอบสนองต่อการกระทำของผู้เล่น)

ในทุกเกมจะมีการสื่อสารกับผู้เล่นว่าสิ่งที่เพิ่งทำไปนั้นดี ไม่ดี น่าชื่นชมหรือไม่อย่างไร เช่นใน มาริโอ้ เวลาจบฉากเราจะต้องกระโดดเกาะเสาธง ถ้าเกาะได้สูงๆ ก็จะพลุขึ้นฉลอง รวมถึงเสียงดังปุงปังๆ เพื่อบอกว่าเราทำได้ดี

นอกจากนี้ระหว่างเล่นแต่ละฉากที่จะมีคะแนนให้เราเห็นว่าเราได้คะแนนเท่าไหร่ ซึ่งคะแนนนี้จะได้รับ และ ค่อยๆเพิ่มขึ้นทันทีระหว่างเล่น ไม่ใช่ว่าต้องรบจบฉากก่อนถึงจะค่อยได้เห็นคะแนน

ทั้งหมดนี้เป็นการตอบสนอง (Feedback) ที่คนเล่นได้รับ ลองจินตนาการถึง มาริโอ้ ที่ไม่มีการแสดงผลอะไรเลย วิ่งไปเรื่อยๆ เงียบๆ คุณคิดว่าเกมจะยังสนุกอยู่หรือไม่ครับ

  • Voluntary participation (การให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมด้วยความเต็มใจ)

คือการที่เกมสามารถสร้างความรู้สึกให้ผู้เล่นยอมทำตามกติกาที่เกมกำหนดไว้ ข้อนี้ลึกซึ้งและเข้าใจยาก อยากให้ลองนึกว่าหากเกมได้ออกแบบกติกาแปลก ๆ ออกมา แล้วผู้เล่นไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเป็นแบบนี้ด้วย เกมจะเริ่มไม่สนุก เพราะผู้เล่นจะมองกติกาแปลก ๆ เหล่านั้นเป็นความยากลำบากที่น่าเบื่อ ไม่ใช่ความท้าทายที่สนุก

เช่น หาก เกมมาริโอ้บอกว่า ให้เราต้องไปต่อสู่กับเจ้าหญิงเพื่อไปช่วยตัว Koopa แทนคิดว่าเนื้อเรื่องเกมแบบนี้จะรู้สึกสนุกมั้ยหรือว่า เปลี่ยนจากการต้องกระโดดเหยียบสัตว์ประหลาดเป็น ไปโหม่งหิน แล้วเอาหินมาทุ่มใส่สัตว์ประหลาด ก่อนถึงจะเหยียบให้ตายได้ คิดว่าการต้องทำแบบนี้คนเล่นจะรู้สึกรับได้และอยากเล่นมั้ยครับ

ในบรรดา 4 องค์ประกอบนี้ เรามักจะนึกถึงข้อ 1-3 แต่ลืมนึกถึงข้อ 4 Voluntary participation (การให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมด้วยความเต็มใจ) ไป ทั้งที่ถ้าหากย้อนกลับไปดูจากคำนิยามเกมของ Bernard Suits ที่บอกไว้ว่า “การเล่นเกมคือความสมัครใจที่จะพยายามเอาชนะอุปสรรคที่ไม่มีความจำเป็น” คุณจะพบว่าการที่ผู้เล่นเต็มใจทำเองนี้ถือได้ว่าเป็นแก่นของเกมเลย

Reality is Broken: Why Games Make Us Better and How They Can ...

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: