
ตอนนี้ผมกำลังติดเกม Wordle มากเลย รวมถึงเพื่อนๆใน FB ด้วย แต่ละวันก็จะมีคนแชร์กันว่า เล่นเกมนี้ได้ผลเป็นยังไงบ้าง
Wordle คือเกมทายคำศัพท์ ง่ายๆ ที่พอเราทายแล้ว มันจะขึ้นผลมาให้ดูว่า คำที่เราใส่ลงไปนั้น ถูกต้องมั้ย ถ้าไม่ถูกเกมก็จะใบ้ให้ด้วยสี โดยที่ สีเทาคือ ตัวอักษรนั้นไม่มีในคำที่เป็นคำตอบ ถ้าได้สีเหลือง ก็คือมีตัวอักษรนั้นแต่ผิดตำแหน่าง แต่ถ้าได้สีเขียวก็คือ ถูกทั้งตัวอักษรและตำแหน่ง
แต่ความเด็ดของเกมนี้คือ เราเล่นได้แค่วันละครั้ง! และ ทายได้แค่ 6 ครั้งเท่านั้น ถ้าพลาดไป ก็ต้องลองอีกทีพรุ่งนี้
ผมมีเพื่อนที่รอเล่นเกมนี้ขนาดที่ว่า รอเล่นตอนเที่ยงคืนเลย
แล้วเกมนี้มันสนุกตรงไหน ถ้าจะให้อธิบายด้วย Gamification ก็คือ เกมนี้ใช้ทริคที่เรียกว่า “Scarcity Effect”
Scarcity Effect คือ การที่คนเราจะให้มูลค่ากับบางสิ่งบางอย่างมากขึ้นกว่าปรกติ ถ้าสิ่งนั้นหายาก หรือ ขาดแคลน ซึ่งความหายากก็มีหลายด้าน เช่น
- Quantity: คือการมีจำนวนน้อย หรือ จำนวนค่อยๆน้อยลงเรื่อยๆ เช่น ของเล่นเด็กทั่วไป ที่พอเวลาผ่านไป กลายเป็นของสะสมราคาแพง
- Rarity คือ ของหายาก ที่หาอะไรมาทดแทนไม่ได้ เช่น สินค้า limited ต่างๆ
- Time คือ การเข้าถึงถูกจำกัดด้วยเวลา ต้องรอบางช่วงเวลาเท่านั้น อย่างเช่นเกม Wordle นี้เป็นต้น
- Restriction and censorship คือ การเข้าถึงถูกจำกัด ด้วยข้อกำหนดบ้างอย่าง เช่น หนังสือบางเล่ม ที่ถูกสั่งห้ามพิมพ์
เราจะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องหายากจริงๆ แต่การได้รู้สึกว่าเข้าถึงยาก หรือ มีลิมิต ก็เพียงพอให้คนสนใจแล้ว อย่างเช่นเกม Wordle นี้เป็นต้น ที่เราจะเล่นได้แค่วันละครั้งเท่านั้น มันเลยทำให้เกมนี้รู้สึกพิเศษกว่าเกมอื่น ที่สามารถเล่นได้ทั้งวัน
เทคนิคนี้เราเจอบ่อยใน App ต่างๆนะครับ เช่น App จองโรงแรม ที่จะชอบแอบแสดงผลว่า ห้องที่เราสนใจเนี่ย ตอนนี้เหลือแค่ 2 ห้องละนะ หรือ โปรโมทชั่นที่เราเห็นนี้ เหลือเวลาอีกแค่ไม่กี่ชม.เป็นต้น
เพียงแค่แสดงว่าสิ่งที่เรากำลังสนใจ นี่หายากนะ มันก็เพียงพอให้เรารู้สึกอยากเสียเงินแล้วครับ 🙂
ลองเอาไปปรับใช้กันดูได้นะครับ เทคนิคง่ายๆ แต่ทรงพลังมาก
#gamification ตอนที่22
อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/Scarcity_(social_psychology)