Nudge กับ Gamification เป็นคอนเซ็ปที่คล้ายกันครับ ตรงที่จูงใจให้คนทำพฤติกรรมบางอย่างเหมือนกัน แต่สองคอนเซปนี้ต่างและเสริมกันอย่างไร?

Nudge เป็น concept ด้านพฤติกรรมมนุษย์คล้ายกับ gamification ซึ่ง Nudge Theory นี้คิดโดย Richard Thaler ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2017
Nudge Theory จะเป็นการออกแบบทางเลือก (Choice) ให้ทางเลือกหนึ่งดูน่าสนใจโดดเด่นกว่าอีกทางเลือก ซึ่งเรียกกันว่า Choice Architecture
ประโยชน์ของ Nudge คือ ทำให้ทางเลือกดี ๆ ที่มีประโยชน์มีโอกาสถูกเลือกมากขึ้น โดยเราไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ เช่น ทำให้คนเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น หรือ ออมเงินมากขึ้น เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น ที่ต่างประเทศได้มีการทดลองให้คนปรับพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลม
การทดลองทำที่ร้าน McDonald’s ครับ โดยสลับตัวเลือกบนหน้าจอสัมผัส จากเดิมที่ตัวเลือกแรกจะเป็นโค้ก เขาก็ย้ายโค้กไปเป็นตัวเลือกสุดท้าย แล้วย้ายโค้กซีโร่ ขึ้นมาเป็นตัวเลือกแรก (ง่าย ๆ แค่นี้เลย)
ทดลองไป 12 อาทิตย์ พบว่า ยอดขายโค้กลดลง และ ยอดขายโค้กซีโร่เพิ่มขึ้น
.
Nudge เป็นศาสตร์ด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ที่ดังมาก และ มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งเทคนิคเด่นหนึ่งของ Nudge คือ การทำให้ทางเลือกที่เราต้องการเป็น Defult ไปเลย (ประมาณว่าคนขี้เกียจคิด ให้เริ่มต้นมาอย่างไรก็ไปต่อแบบนั้น 555)
.
เราจะเห็นว่า Nudge กับ Gamification มีเป้าหมายใหญ่เหมือนกันคือ จูงใจให้คนทำพฤติกรรมครับเพียงแต่เน้นกันคนละมุม
โดยที่ Nudge จะเป็นการเน้นที่การทำให้ทางเลือกดูน่าเลือกกว่าอีกทาง ในขณะที่ Gamification จะเน้นจูงใจเป็นพฤติกรรมๆ ไปโดยใช้กลไกเกม เช่นการให้แต้มเป็นต้น
ถามว่าอะไรดีกว่ากัน ผมเชื่อว่าใช้เสริมกันไปตามความเหมาะสมดีกว่าครับ
เช่น เวปเรามีสินค้าให้เลือกหลากหลาย เราก็ Nudge โดยการใส่ Best Seller ลงไปให้ตัดสินใจง่ายขึ้น แต่พอลูกค้าเลือกซื้อแล้ว เราก็ Gamify ด้วยการให้แต้ม เป็นต้นครับ
#gamification ตอนที่27