ขั้นตอนการออกแบบ Gamification

หลาย ๆ ครั้งเวลาผมได้ไปคุยกับบริษัทเรื่องออกแบบ Gamification ผมมักจะพบว่า แต่ละแห่งมักจะเริ่มต้นจาก หาว่าจะเอาแต้ม เอาตารางอันดับ หรือ เกม อะไรมาเล่นกันดี ซึ่งพอออกไป ๆ มา ๆ ก็งง ว่าสิ่งที่ทำไปเนี่ย มันตอบโจทย์หรือเปล่า

เอาเข้าจริง ขั้นตอนการออกแบบ Gamification นี่มีหลายแนวทางครับ แต่แนวทางนึงที่ผมชื่นชอบเป็นการส่วนตัว คือ 6D Framework ของ Kevin Werbach เพราะขั้นตอนเข้าใจง่าย และ สามารถนำไปปรับใช้ได้ แม้ว่าจะได้ไม่เป็น Developer

เพราะหลักคิดนี้จะเน้นให้เรามาทบทวน และ ทำความเข้าใจตัวเองให้ดีก่อนว่า โครงการนี้ของเราต้องการอะไรกันแน่ แล้วค่อยแตกย่อยเป็น เทคนิคเกมมิฟิเคชันในตอนหลัง

มาดูกันครัช

.

  1. Define Business Objectives (กำหนดวัตถุประสงค์)

ขั้นตอนนี้คือการมาทบทวนดูว่า เป้าหมายหลักของโปรเจคเราคืออะไร ขั้นตอนนี้ง่าย เพราะว่าเวลาเราจะทำอะไรซักอย่างมันก็ต้องมีเป้าหมายอยู่แล้ว แต่ถ้ายังไม่รู้ว่าต้องการอะไรกันแน่ ควรหยุดคิด gamification แล้วมาทบทวนตรงนี้ให้ดีก่อนครับ

  • Delineate target behavior (กำหนดพฤติกรรมที่พึงประสงค์)

ในขั้นตอนนี้คือการหาว่า เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้น เราต้องการให้ผู้เล่นของเรา ทำพฤติกรรมอะไรบ้าง

ถ้าพฤติกรรมนั้นเขาทำดีอยู่แล้ว ก็โอเคไป แต่ถ้าเขายังไม่ทำ หรือ เราอยากจูงใจให้ทำเพิ่มขึ้นอีก เราก็มาลิสไว้ว่านี่คือพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเราครับ

  • Describe yours players (ระบุผู้เล่น)

ทีนี้เราก็มีวิเคราะห์ดูว่า ผู้เล่นของเรานั้นเป็นใครกันแน่ เรากำลังต้องการจูงใจใครอยู่ เช่น ช่วงอายุ อาชีพ หรือ นิสัยต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งก็สามารถทำออกมาได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้อาจจะเริ่มจาก Bartle model เป็นไอเดียก่อนได้ (Achievers, Explorers, Socializers, Killers) ผมเคยแชร์ไว้ในโพสนี้ครับ

  • Devise activity loops (ทำความเข้าใจทางเลือกของผู้เล่น)

คือโดยปรกติ เวลาเราทำกิจกรรมต่าง ๆ เราสามารถเขียนออกมาเป็น loop เป็นขั้นตอนได้ครับ เช่น เราเปิดร้านกาแฟ เราก็สามารถเขียนได้ว่า ตั้งแต่เดินเข้ามาในร้าน สั่งกาแฟ จ่ายเงิน และ รับกาแฟ ซึ่ง ลูกค้าก็จะทำวนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เป็นต้นครับ

ให้เขียน Loop ของกิจกรรมเราครับ แล้วดูว่าขึ้นตอนไหนที่ส่งเสริม หรือ ขัดขวาง พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเรามั้ย

โดยปรกติ Loop จะมี 2 แบบคือ  Engagement loops (ว่าด้วยกิจกรรมที่ทำซ้ำ ๆ แต่เราอยากให้ผู้เล่นสนุก เหมือน Facebook ที่สามารถทำให้เพลินได้กับการไถหน้าจอไปเรื่อย ๆ) และ Progressive loop (ว่าด้วยกิจกรรมที่มีการพัฒนาไปข้างหน้าเรื่อย ๆ เช่นการเรียนรู้ เป็นต้น)

  • Don’t forget the fun! (อย่าลืมความสนุก!)

ขั้นตอนนี้ส่วนตัวผมว่ายากที่สุดละ เพราะมันฟังดู Abstract แต่ 6D Framework กำลังเตือนเราว่า อย่าลืมว่าต้องทำให้สนุกนะ เพราะเวลาออกแบบไปมา ลืมย้อนกลับมาดูว่าไอ้ที่ทำไปเนี่ย มันสนุกจริงหรือเปล่า เพราะกับผู้เล่นที่เราวิเคราะห์มามั้ย

อีกนัยหนึ่ง step นี้คือการให้เราได้มา set tone ว่าอยากให้ gamification ของเรานั้นสนุกแบบไหน เช่นอาจจะเป็นแบบเล่นเพลินๆ หรือ แบบให้คนแข่งขันกัน เป็นต้น

  • Deploy appropriate tools (ใส่เทคนิคที่เหมาะสม)

ถึงตรงนี้ เราค่อยมาใส่ gamification ครับ เอาสิ่งที่เราได้วิเคราะห์มาตั้งแต่ต้น มารวบยอดแล้วใส่เทคนิค ลูกเล่น ต่างๆ ที่เหมาะสมลงไป

ถึงจุดนี้เราจะตอบตัวเองได้แล้วครับว่า เรากำลังออกแบบ gamification ไปเพื่ออะไร แล้วตอบโจทย์เป้าหมายหลักของโปรเจคเรามั้ย

.

ส่วนตัวแอบรู้สึกว่า การเอา “D” 6 ตัวมานำหน้านี่ดูแถๆ หน่อย 555

แต่ก็ดีไปอีกแบบ เพราะทำให้จำได้ง่ายดี

#gamification ตอนที่51


Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: