If-then Planing

เคยเป็นมั้ยครับ ที่เวลาเราตั้งเป้าหมายอะไรซักอย่างเช่น อยากจะลดน้ำหนัก หรือ อ่านหนังสือ แต่แล้วพบว่าไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งหลายครั้งก็เป็นเพราะการผลัดวันประกันพรุ่ง

หลายครั้งก็วางแผนซะดิบดี แต่พอจะทำเข้าจริงก็ติดโน่นนี่ จนมีเหตุให้พลาดไปจนได้

.

มีการศึกษานึงน่าสนใจครับ บอกถึงเทคนิคหนึ่งที่จะช่วยให้เรามีโอกาสบรรลุเป้าหมายของเราได้ง่ายขึ้น ด้วยเทคนิคการวางแผนที่เรียกว่า if-then planning ครับ

If-then planning คือ การวางแผนที่บอกว่า “เมื่อ x เกิดขึ้น ฉันจะทำ y” หรือคือการตัดสินใจล่วงหน้า นั่นเองครับ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าถึงวันพุธ 6 โมงเย็น ฉันจะออกไปวิ่งในสวน หรือ เมื่อถึง 4 ทุ่มฉันจะปิดมือถือและหยิบหนังสือมาอ่าน 2 หน้าเป็นอย่างน้อย เป็นต้นครับ

หรืออาจจะใช้ในการวางแผนรับมือสถานการณ์ต่าง ๆ ก็ได้เช่น ถ้าเพื่อนชวนไปกินหมูกระทะ ฉันจะบอกเพื่อว่ากำลังลดน้ำหนักอยู่ ขอไม่ไปด้วยนะ รอให้ผอมก่อนแล้วเจอกัน เป็นต้น

ฟังดูง่ายดีนะครับ แต่ก็มีการศึกษาเกี่ยวกับ if-then planning อยู่หลายร้อยฉบับนะครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้ข้อสรุปตรงกันว่า คนที่ใช้ if-then planing สามารถช่วยให้เราสามารถบรรลุเป้าหมาย ได้มากกว่า คนที่ไม่ใช้ อยู่ถึง 200-300% เลยทีเดียว

คำอธิบายคือ การคิดแบบตั้งเป็น condition ไว้แบบนี้ มันสอดคล้องกับการทำงานของสมอง เลยทำให้เราสามารถทำตามได้ง่าย คือไม่ต้องคิดมาก เพราะเราได้ตัดสินใจล่วงหน้าไปแล้ว

อีกอย่าง เวลาเราวางแผน ปรกติเรามักจะวางแผนแต่ว่าต้องทำอะไรเมื่อไหร่ แต่มักไม่ค่อยวางแผนว่าถ้ามันมีอะไรผิดแผนขึ้นมาเราจะรับมือยังไง ซึ่งการใช้ if-then planning มันจะช่วยเรารับมือตรงนี้ได้ครับ

.

เทคนิคนี้ยังใช้ได้กับการจัดการความเครียดได้ด้วย ทั้งนี้เพราะความเครียดมันมักจะมาในเวลาที่เราไม่ตั้งตัว การใช้ if-then planning ก็ช่วยให้เรารับมือได้ดีขึ้น  เช่น ถ้ามีใครล้อว่าเราอ้วน ฉันจะหายใจลึก ๆ  1 ที ยิ้มหวาน แล้วบอกเขากลับไปว่า xxx 

หรือ สามารถนำมาใช้กับการวางแผนอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ถ้าถึงบ่าย 2 แล้ว ฉันจะตอบอีเมลล์เจ้านายที่ค้างอยู่ … วิธีนี้คือการทำให้ todo list เราจับต้องได้ง่ายขึ้นกว่า จดไว้เฉย ๆ ว่าตอบอีเมลล์เจ้านาย

.

นอกจากเรื่องส่วนตัวแล้ว Harvard business review ยังได้มีรายงานเรื่องประโยชน์ของการใช้ if-then planningในที่ทำงานได้ด้วย ว่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทีมได้ด้วย หากทีมมีการวาง if-then planing ร่วมกัน 

เช่นการรับพนักงานใหม่ … ถ้าคณะกรรมตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกผู้สมัครคนไหนเข้าร่วมงาน ให้ทุกคนรีวิวข้อดีของคนที่ตกรอบใหม่ร่วมกันอีกครั้ง ก่อนลงคะแนน หรือ ทุกครั้งที่จะตัดสินใจลงทุนในโครงการไหน เราจะต้องสอบถามมุมมองจากคนอื่นที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกครั้ง ก่อนอนุมัติ เป็นต้น

เรื่องการใช้ if-then planning ในที่ทำงานนี่สนุกมาก ลองอ่านเพิ่มเติมในบทความนี้ได้ครับhttps://hbr.org/2014/05/get-your-team-to-do-what-it-says-its-going-to-do#:~:text=If%2Dthen%20planning%20addresses%20that,gap%20between%20knowing%20and%20doing.

.

ก็ลองเอาไปปรับใช้กันได้ครับ 

เป็นอีกเทคนิคที่ง่าย และ ใช้ได้ในหลากหลายบริบทครับผม


Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: