
หนังสือพูดถึงความสำพันธ์ระหว่างความสำเร็จกับความสุข
โดยปรกติแล้วเรามักจะคิดกันว่า ความสำเร็จเป็นเหตุของความสุข แต่ในความจริงแล้วมันกลับกัน โดยที่ความสุขต่าง ๆ เป็นเหตุของความสำเร็จ
คนที่มีความสุข จะมีโอกาสพาตัวเองไปสู่ความสำเร็จ เหมือนกับว่าสมองที่ดี มีประสิทธิภาพ ก็ยอมต้องสร้างสรรค์ได้ดีกว่านั่นเอง
เป็นหนังสือที่อ่านเพลินมากครับ เต็มไปด้วยมุมมองที่น่าสนใจ
จริงแล้วระหว่างอ่าน ผมก็เถียงตลอด เพราะ มุมมองแบบ positive นี้ บางทีอ่านแล้วก็จะคิดถึงสิ่งที่เรียกว่า toxic positivity แต่อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วกลับไม่รู้สึกแบบนั้น เพียงแต่ต้องค่อย ๆ อ่านไปเรื่อย ๆ แล้วคิดตาม
.
มาดูสรุปหนังสือกันครับ
หนังสือบอกว่า มีหลักการอยู่ทั้งหมด 7 ข้อด้วยกัน ซึ่งชื่อแต่ละหลักการก็ตั้งได้เก๋ไก๋ดี จำง่าย
.
1. Happiness Advantage – ความสุขเป็นปัจจัยสร้างความได้เปรียบ
เรามักจะคิดกันว่า ความสำเร็จจะนำความสุขมาให้เรา แต่ในความจริงมันกลับกัน คือ ความสุขต่างหากที่สร้างความสำเร็จ
หนังสือบอกว่า มีงานวิจัยกว่า 200 ชิ้น ได้แสดงให้เห็นว่า ความสุขจะนำมาซึ่งความสำเร็จในทุกมิติของเรา รวมถึงการทำงานด้วย องค์กรที่มีความสุข องค์กรที่ CEO มีความสุขก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้มากกว่าด้วย
ความสุขนั้นสามารถสร้างได้จาก การนั่งสมาธิ การมีเป้าหมายที่มุ่งมั่นไปให้ถึง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องง่าย ๆ ไม่ต้องยิ่งใหญ่ก็ได้เช่น วางแผนไปเที่ยวปลายเดือน แล้วเวลาคิดถึงการจะได้ไปเที่ยวก็สร้างความสุขให้เราได้แล้ว
หรือ การแสดงเมตตาต่อผู้อื่น ได้ช่วยเหลือคน และ การทำให้บรรยายรอบตัวเรามีความสุข รื่นรมย์ การออกกำลังกาย และ การใช้เงิน แต่ไม่ใช่ใช้เงินเพื่อสิ่งของ แต่เป็นเพื่อประสบการณ์ต่าง ๆ เช่นท่องเที่ยว
และที่น่าสนใจคือ การได้พัฒนาความสามารถเฉพาะทางของตน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวเช่นหัดทำขนม ก็เพิ่มระดับความสุขให้กับเราได้
2. The Fulcrum and the lever – คือการเปลี่ยน mindset นั่นเอง
Fulcrum คือ จุดหมุน และ lever คือคานงัด หนังสือบอกถ้าเราหาจุดหมุนดีๆ แล้วมีคานงัดที่เหมาะสม เรากสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ … ซึ่งสิ่งนั้นคือ mindset
ทุกท่านคงคุ้นเคยกับคำว่า fix mindset และ growth mindset เป็นอย่างดี หนังสือบอกว่า คำนี้สำคัญ แต่ที่น่าสนใจคือ หนังสือบอกว่าเราควรมีความเชื่อมั่นด้วยว่า คนรอบตัวเรา ลูกน้องเรา ก็มี growth mindset
การวิจัยพบว่า ผู้นำที่เชื่อว่า ลูกน้องทำงานเพราะเงิน ก็จะมีแต่ลูกน้องแบบที่เขาคิด และ ลูกน้องก็จะคอยมาถามปัญหาให้เจ้านายต้องแก้ไขตลอดเวลา ในขณะที่ผู้นำที่เชื่อว่าลูกน้องทำงานเพราะมีแรงจูงใจภายใน อยากทำให้งานออกมาดี ก็จะแวดล้อมไปด้วยลูกน้องแบบนั้น
แต่ถ้าผู้นำสามารถเปลี่ยนมุมมองต่อลูกน้องได้ ลูกน้องรอบตัวก็จะค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป … ผมอ่านแล้วก็รู้สึกว่าน่าสนใจดี
แล้วถ้าเราเป็นผู้นำอยู่ ไม่ว่าจะมีลูกน้องแค่ 2-3 คนก็ตามเราควรทำยังไงดี หนังสือบอกว่า ให้หมั่นถามตัวเองว่า 1) ฉันเชื่อหรือไม่ว่าทีมงานของฉันมี Growth Mindset 2) ฉันเชื่อหรือไม่ว่า พนักงานของฉันนั้นทำงานด้วยความทุ่มเท และ 3) ฉันจะแสดงความเชื่อนี้ให้พนักงานเห็นได้อย่างไร
3. The Tetris effect
คำนี้มาจากการทดลองหนึ่งครับ คือจ้างคนมานั่งเล่นเกม Tetris เป็นเวลา 3 วันไม่ต้องทำอะไรเลย แล้วติดตามดูว่าหลังจากกนั้นจะเกิดผลอะไรบ้าง ผลออกมาว่า คนเหล่านั้นพูดตรงกันว่า เกม Tetris มันค้างอยู่ในหัวครับ บางคนถึงกับบอว่า ตอนกลับบ้านมองเห็นตึก แล้วคิดว่าถ้ากลับหัวตึกนี้แล้ว น่าจะเอาไปเสียบในช่องว่างระหว่างอีก 2 ตึกข้าง ๆ ได้ 5555
ประมาณว่าถ้าเราหมกหมุ่นอยู่กับเรื่องอะไรมาก ๆ จิตใจก็จะวนเวียนคิดถึงแต่เรื่องนั้น
หนังสือสรุปต่อว่า The Tetris effect จริงแล้วก็เกิดกับเราตลอดเวลา คนที่มีความสุข ก็จะมองเห็นความสุข มองเห็นโอกาสได้ง่ายกว่า คนที่มองแต่ด้านร้าย ก็จะเห็นแต่เรื่องร้าย ๆ ซึ่งจะพาไปสู่ความเครียด และ ลดโอกาสประสบความสำเร็จ
สร้าง Positive Tetris effect ได้อย่างไร … อันนี้ต้องฝึกฝนครับ ซึ่งหนังสือเสนอว่า ในแต่ละวันให้เวลาเขียนสิ่งดี ๆ 3 ที่เจอในวันนั้น จะกี่โมงก็ได้ แต่ประเด็นสำคัญคือ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
คำถามต่อมาคือ ถ้ามองแต่ด้านบวก แล้วละเลยด้านที่เป็นปัญหาแบบนี้มันจะไม่ทำให้เราทำงานด้วยความประมาทหรอ หนังสือก็ตอบว่า ไม่ได้หมายความว่าให้หลับตาให้กับปัญหา แต่เราต้องมองปัญหาอยู่ดี แต่แค่มองด้วยสายตาของความหวังและโอกาส ไม่ใช่มองปัญหาด้วยความท้อแท้
.
เล่มที่ 45 / 2565
อ่านบทความย้อนหลังทั้งหมด
https://growthgame.co/article/