แนวทางการเลือกเทคนิค Gamification

อีกคำถามที่มักจะพบเวลาออกแบบเกมมิฟิเคชันคือ จะเลือกใช้เทคนิคไหนดี หรือ จะเลือกรูปแบบกิจกรรมอย่างไรดี ถึงจะเหมาะสม และ ส่งเสริมให้เราบรรลุเป้าหมายโครงการ (business objective) ที่วางไว้

เพราะ เทคนิค และ รูปแบบของเกมมิฟิเคชันมันมีเยอะแยะ ลานตาไปหมด

.

ก็มี Framework ง่าย ๆ มาแนะนำให้ไปช่วยประกอบการวางแผนครับ

เริ่มจากอยากให้ถามตัวเองก่อนว่า กลุ่มเป้าหมายของโครงการเรานั้นเน้นที่จูงใจ ลูกค้า (External) หรือ พนักงาน (Internal)

จากนั้นให้ถามตัวเองก่อนว่า พฤติกรรมที่เราต้องการจะจูงใจนั้นเป็นแบบไหน ระหว่าง

1) จูงใจเป็นรายบุคคล (Solo) 2) จูงใจหลายคน ให้ร่วมกันทำอะไรบางอย่าง (Community) หรือ 3) จูงใจหลายคน ให้แข่งขันกันเพื่อ (Competitive)

ทั้งนี้เราสามารถมีมากกว่า 1 แบบได้นะครับ แล้วแต่โปรเจคของเรา เช่น อยากให้พนักงานในสายการผลิตเพิ่ม productivity อาจจะเป็นการผสมระหว่าง จูงใจให้ช่วยกันแชร์ best practice และ ให้แข่งขันกันระหว่างทีมเพื่อสร้าง performance

.

ซึ่งจะทำให้เราสามารถแบ่ง Gamification Framework ออกได้เป็น 6 แบบหลัก ๆ คือ

1) Social Loyalty (External – Solo)

คือรูปแบบที่จูงใจลูกค้าของเราเป็นรายบุคคลให้ทำอะไรบางอย่าง เช่น ซื้อสินค้า หรือ มาใช้บริการเราซ้ำ ๆ เป็นต้น โดยในประเภทนี้ เทคนิคเกมมิฟิเคชันมักจะเน้นที่การให้ reward

2) Community expert (External – Community)

คือการจูงใจให้ลูกค้า มาช่วยกันทำอะไรบางอย่างเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับ community เช่น แชร์ความรู้ ตอบ Q&A หรือสร้าง content เป็นต้น ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะเน้นที่ reputation และ recognition

3) Competitive pyramid (External – Competitive)

คือรูปแบบการจูงใจพฤติกรรมที่เป็นการแข่งขัน หรือ มาทำอะไรบางอย่างพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจจะมีผู้ชนะคนเดียว หรือ แบบเป็นทีมก็ได้ โดยในหัวข้อนี้ เราจะเน้นที่ status, score และ leaderboard

4) Gentle guide (Internal – Solo)

คือการจูงใจให้พนักงานเป็นรายบุคคล ให้ทำพฤติกรรมบางอย่างให้สำเร็จ (completion) หรือ ทำถูกต้องตามกฎระเบียบ (compliance) ซึ่งโดยทั่วไปเทคนิคที่จะใช้กันคือ mission และ reward

5) Company collaborator (Internal – Community)

คือกรจูงใจพนักงานเพิ่มการร่วมมือ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น แชร์ KM หรือช่วยกันแก้ปัญหาบางอย่างเป็นต้น โดยเทคนิคที่จะใช้กันคือ reputation เหมือนกับแบบที่ 3

6) Company challenge (Internal – Competitive)

คือการจูงใจให้พนักงานแข่งขัน ทั้งภายในทีมหรือระหว่างทีม เช่น แข่งกันลด non-productive time เป็นต้น โดยเทคนิคที่มักจะใช้กันคือ mission และ leaderboard

.

ก็เป็นภาพรวมกว้าง ๆ ครับ หวังว่าจะช่วยให้แต่ละท่านกำหนดกรอบแนวทางในการออกแบบเกมมิฟิเคชันได้

#gamification ตอนที่ 65


Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: