-
ตัวอย่าง Gamification: Microsoft
#Gamification ตอนที่10 มาดูตัวอย่างของเกมมิฟิเคชั่นที่ช่วยให้งานที่น่าเบื่อ ไม่มีใครอยากทำ กลายเป็นงานที่สนุก แถมคนร่วมแรงร่วมใจกันได้ครับ ตัวอย่างนี้มาจาก Micorsoft ซึ่งก็เป็นตัวอย่างที่ค่อนข้างดังเวลาพูดถึงเกมมิฟิเคชั่น ทุกท่านอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า Microsoft มี Software ที่มีคนใช้กันทั่วโลก ซึ่งทาง Microsoft ก็ได้จ้างนักแปลมืออาชีพ คอยแปลภาษาอังกฤษให้เป็นทุกภาษาในโลกซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่ทีนี้ความยากอยู่ตรงที่ ต่อให้แปลดียังไง มันก็ยากมากที่จะทำให้ภาษาออกมาอ่านแล้วลื่นหูเหมือนเจ้าของภาษา ทาง Microsoft เลยตัดสินใจแก้ปัญหานี้ด้วยการ จัดกิจกรรมขื้นมาเรียกว่า Language Quality Game โดยให้พนักงาน Microsoft เข้าไปช่วยกันรีวิวภาษาของตัวเอง เช่น คนไทย ก็ช่วยกันเข้าไปรีวิวภาษาไทย ถ้าเจอจุดไหนบกพร่องก็แค่เขียนคำแนะส่งไป ถ้าโอเคก็กดผ่าน กติกาง่ายมาก … แต่ใครมันจะอยากไปเข้าร่วม เพราะลำพังแค่งานประจำก็ยุ่งพอแล้ว สิ่งที่พิเศษของโครงการนี้ที่ทำให้สนุกคือ เค้าได้จัดแข่งเป็นให้เป็นระดับประเทศ โดยพนักงานแต่ละคนจะเหมือนเป็นตัวแทนชาติตัวเอง ที่ต้องช่วยกันทำแต้มให้อันดับของประเทศตัวเองมีคะแนนสูงๆ ไม่สนว่าจะจริงๆแล้วตัวเองจะทำงานอยู่ประเทศไหน นั่นคือ พนักงานคนไทยทั่วโลก จะช่วยกันรีวิวภาษาไทย เพื่อทำแต้มให้ประเทศตัวเอง ทีนี้ก็สนุกเลย พนักงานเข้าร่วมเยอะมาก ชนิดที่ว่า Microsoft ญี่ปุ่นประกาศหยุดงาน 1…
-
Gamification: องค์ประกอบของเกม
#Gamification ตอนที่9 การจะเข้าใจเรื่องหลักการใช้ของ เกมมิฟิเคชั่น ต้องยอมรับว่าเราคงต้องมาทำความใจเรื่องเกมกันด้วย ก็ไม่ต้องเข้าใจลึกมากถึงขั้นการออกแบบเกม แต่ก็ควรที่จะต้องรู้องค์ประกอบของเกมไว้บ้าง ทั้งนี้เพราะ เรากำลังจะเอาความเป็นเกมไปปรับใช้ในสิ่งที่ไม่ใช่เกม จริง ๆ เรื่ององค์ประกอบของเกม ก็มีหลายตำรา แต่ที่ผมชอบเป็นการส่วนตัวก็ จากหนังสือ Reality is Broken ของ Jane McGonigal ได้ให้ข้อสรุปไว้น่าสนใจว่าเกมต้องมีอยู่ 4 อย่างคือ Goal (เป้าหมาย) คือสิ่งรวบยอดทั้งหมดของเกมที่ทำให้ผู้เล่นรู้ตัวว่าต้องทำอะไร ซึ่งโดยปกติเป้าหมายของเกมจะหมายถึงวิธีการได้รับชัยชนะ อย่างเช่นเกมมาริโอ้ที่เป้าหมายคือ ชนะเกมด้วยไปช่วยเจ้าหญิงให้ได้ในด่านสุดท้าย Rules (กติกา) คือสิ่งที่ทำให้ผู้เล่นรู้ว่า สามารถทำอะไรได้บ้าง และ ไม่สามารถทำอะไรได้ เช่น มาริโอ้ที่ เราสามารถกระโดดได้ วิ่งได้ แต่จะตายถ้าตกเหว หรือ ชน monster รวมถึงกินเห็ดแล้วตัวใหญ่ กินดอกไม้ไห้แล้วจะยิงลูกไฟได้ นอกจากนี้ยังมีกติกาอื่นๆ เช่น ต้องรีบจบแต่ละด่านให้ได้ก่อนเวลาหมด เป็นต้น Feedback system (การแสดงตอบสนองต่อการกระทำของผู้เล่น) ในทุกเกมจะมีการสื่อสารกับผู้เล่นว่าสิ่งที่เพิ่งทำไปนั้นดี ไม่ดี…
-
ตัวอย่างGamification: Deloitte
#Gamification ตอนที่8 มาฟังตัวอย่างเกมมิฟิเคชั่นของผู้ใหญ่กันบ้าง คราวนี้เอาแบบคนแก่เลย เป็นตัวอย่างจากบริษัทชั้นนำระดับโลกอย่าง Deloitte ครับ ที่ไปที่มาคือ Deloitte ได้สร้างระบบการอบรมออนไลน์ ขึ้นมาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยตั้งชื่อว่า Leadership Academy แต่มีปัญหาที่ผู้บริหารระดับสูงเหล่านี้ไม่ค่อยว่างมาเรียน เอาเข้าจริงผู้บริหารไม่ค่อยจะอยากมาเข้าเรียนด้วยซ้ำไป ซึ่งก็เข้าใจได้นะ เพราะท่านผู้บริหารนี่ต้องยุ่งมากกก ซึ่ง ทำให้ใช้เวลานานกว่าผู้บริหารจะอบรมแต่ละหัวข้อเสร็จ สิ่งที่ Deloitte ได้ทำคือ ออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ที่ทำอบรมใหม่! โดยให้หน้า Profile ส่วนตัวมีความเป็นเกมมิฟิเคชั่น เช่น มีการให้แต้มเรียนเสร็จ มี Progress Bar บอกว่าอบรมไปถึงไหนแล้ว มีการทำตารางจัดอันดับเปรียบเทียบระหว่างผู้บริหารว่าใครกำลังนำอยู่ ได้รับผลตอบรับดีมากครับ คือ สามารถลดเวลาการเรียนลง 50% แถมเวลาการเข้าใช้เว็บไซต์ต่อวันของผู้บริหารยังเพิ่มขึ้นถึง 46.6% ด้วย บริษัท Deloitte เป็นตัวอย่างที่ดีของการประสบความสำเร็จในการปรับปรุงระบบเดิมจากที่เคยน่าเบื่อ ให้เป็นสนุกขึ้น จูงใจให้คนอยากทำมากขึ้น และที่สำคัญ ไม่ได้บังคับเลย การไม่บังคับ แต่จูงใจให้อยากทำด้วยเทคนิคของเกมนี่หล่ะครับ แก่นของ Gamification
-
ตัวอย่างGamification: Pain Squad
#Gamification ตอนที่7 คุยเรื่อง เกมมิฟิเคชั่นกันมาหลายตอน มาดูตัวอย่างกันบ้าง ตัวอย่างที่ดังมากอันนึงก็คือ App มือถือชื่อ Pain Squad Pain Squad คือ App ที่ออกแบบโดยทีมนักวิจัยของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองโตรอนโต App นี้ออกแบบมาสำหรับให้เด็ก ๆ ที่ป่วยเป็นมะเร็งได้จดบันทึกอาการป่วยของตนเอง เทียบกับวิธีแบบดั้งเดิมที่ให้เด็ก ๆ ต้องคอยบันทึกอาการลงบนกระดาษ ตามเวลาที่กำหนดในแต่ละวัน … ซึ่งก็แน่นอน แบบเก่านี้เด็กก็จดบ้างไม่จดบ้าง แต่ความเจ๋งของ Pain Squad นี้คือ การสร้างเรื่องราวให้เด็ก ๆ ด้วย ว่าได้เป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสืบสวน คดี ซึ่งผู้ร้ายคือความเจ็บปวดของเด็ก ๆ นั่นเอง สิ่งที่เด็ก ๆ ต้องทำคือช่วยกันจับผู้ร้าย (อาการเจ็บป่วยของตนเอง) ลงบน App ตามเวลาที่กำหนด นอกจากสวมบทบาทแล้ว App ยังทำออกมาเป็นเรื่องราวให้เด็ก ๆ รู้สึกสนุก และ อยากติดตาม เท่านั้นไม่พอเมื่อกรอกข้อมูลแล้ว เด็ก ๆ…
-
Gamification: เกมมิฟิเคชั่นต่างจากการเล่นเกมอย่างไร
#Gamification ตอนที่6 เรื่อง Gamification นี้ยังถือว่าใหม่มากในเมืองไทย ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนได้ว่าอะไรเป็นหรือไม่เป็น Gamification ก็มีรูปนึงครับ ที่อธิบายความแตกต่างของ Gamification กับสิ่งต่างๆได้ดี รูปนี้ได้แบ่งออกเป็น 4 ช่อง โดยแกนตั้ง คือ “Gaming” กับ “Playing” หลัก ๆ คือ เกมจะมีกติกา มีเป้าหมาย แต่การเล่นคือการเน้นที่ความสนุก ไม่ได้มีกติกาตายตัว จะเป็น Free Play ซะกว่า และ แกนนอนคือ การแบ่งว่ามีองค์ประกอบเพียงบางส่วน หรือทั้งหมด มุมซ้ายบน คือ ในทุกองค์ประกอบคือเกม สิ่งนี้ได้แก่เกมทั่วไปที่เราเล่นนั่นเองครับ เช่น เกมมือถือ เกมคอมพิวเตอร์ บอร์ดเกม เพราะมันคือเกมทั้งหมดไม่มีสิ่งอื่นเจือปน อันนี้ตรงไปตรงมา ในขณะที่มุมซ้ายล่าง คือ การเล่นในทุกองค์ประกอบ สิ่งนี้จะเรียกว่าของเล่นครับ เช่นหุ่นยนต์ เลโก้ เป็นต้น นี้ก็ตรงไปตรงมาเช่นกัน เกมมิฟิเคชั่นของเราจะอยู่ในช่องขวาบน เพราะคือการปรับเอาความเป็นเกมมาเป็นองค์ประกอบบางส่วนที่ไม่ใช่เกม ในขณะที่ช่องขวาล่างซึ่งคือการเอา…