Category: Uncategorized
-
3 ความเข้าใจผิดที่ควรเข้าใจก่อนเริ่มทำเกมมิฟิเคชัน
เคยเจอปัญหามั้ยครับ ว่าเวลาเราไปคุยกับคนอื่นเรื่องเกมมิฟิเคชัน แล้วมักจะพบว่าเขาไม่เข้าใจว่าเกมมิฟิเคชันคืออะไร เกมมิฟิเคชันเป็นคอนเซปใหม่ในบ้านเราครับ ที่ยังมีความสับสนกันอยู่บ้างว่าตกลงมันคืออะไรกันแน่ แล้วเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง ซึ่งความสับสนนี้ส่วนนึงอาจเป็นเพราะมีคำว่าเกมอยู่ในชื่อ เกมมิฟิเคชัน ซึ่งเอาเข้าจริงผมก็เข้าใจได้นะ แต่จากการที่ผมได้มีโอกาสไปคุยมากับหลายที่ พบว่ามีความเข้าใจผิดอยู่หลัก ๆ 3 ข้อด้วยกัน ลองมาดูกันครับว่า ความเข้าใจผิดนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งจะช่วยให้เราทำโปรเจค หรือ สามารถอธิบายว่าเกมมิฟิเคชันคืออะไรได้ดีขึ้น . 1. เข้าใจผิดว่า เกมมิฟิเคชันคือการเล่นเกม เป็นความเข้าใจผิดที่พบบ่อยทีเดียว อาจจะเป็นเพราะมีคำว่าเกมอยู่ในชื่อ เลยทำให้บางคนเข้าใจว่า การมีเกมให้เล่น เช่น แข่งตอบคำถามชิงรางวัล ก็ถือว่าเป็นเกมมิฟิเคชันแล้ว จริงแล้ว เกมมิฟิเคชันคือการเอากลไกเกม เทคนิคจากเกม ไปใช้ในกิจกรรมอื่น เพื่อสร้างแรงจูงใจ ซึ่งจากตัวอย่างที่ผมเล่ามาในบทความก่อน ๆ ก็จะเห็นว่า หลายครั้งผู้เล่นไม่จำเป็นต้องรู้สึกว่าตัวเองกำลังเล่นเกมอยู่เลย 2. เข้าใจผิดว่า เกมมิฟิเคชันคือการแข่งขัน เกมมิฟิเคชันไม่จำเป็นว่าต้องเอาคนมาแข่งขันกัน (competitive) แต่ยังมีรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้อีกเช่น การร่วมมือ (cooperative) หรือ กระทั่งการทำตาม mission/challenge ต่าง ๆ โดยที่ไม่ต้องไปมีปฏิสัมพันธ์กับใคร…
-
รางวัลมีกี่ประเภท?
#Gamification ตอนที่17 ในการเล่นเกมต่างๆ และ ในเกมมิฟิเคชัน สิ่งนึงที่สำคัญมากคือ การให้รางวัล เพราะรางวัลนี้ถือว่าเป็น Motivator ที่ดีอย่างนึง ซึ่งโดยปรกติเราจะคิดถึงรางวัลที่เป็นสิ่งของ หรือ เงิน แต่ว่าจริงๆแล้วรางวัลที่คนชอบมีมากกว่านั้นครับ จากหนังสือ Gamification by Design ได้บอกว่า รางวัลนี้มี 4 อย่างเลยทีเดียวครับ เรียกย่อๆว่า SAPS Status (สถานะ) สถานะคือสิ่งแสดงความแตกต่างกันของเรากับคนอื่น ซึ่งอาจจะหมายถึงชื่อตำแหน่ง ยศ หรือ ฉายาบางอย่างก็ได้ Access (การเข้าถึง) คือการให้สิทธิ์ผู้เล่นเข้าถึงอะไรบางอย่างที่พิเศษกว่าคนอื่น ประมาณว่าคนอื่นเข้าไม่ได้ ตัวอย่างนึงคือคือ เลาจ์ของสายการบินต่างๆ ที่คนจะเข้าได้ต้องเป็นสมาชิกก่อน แถมเข้าไปแล้วยังมีห้องสำหรับคนที่ถือบัตรพิเศษแยกเข้าไปอีก หรือ กระทั่งการมีแถว check in พิเศษไม่ต้องไปต่อแถวยาวๆ กับลูกค้าทั่วไป Power (อำนาจ) คือการให้อำนาจเพิ่มเติมแก่ผู้เล่น ต้องยอมรับครับ ว่าคนเรานี่ชอบที่จะได้รับอำนาจเหนือคนอื่น ตัวอย่างเช่นในระบบเว็บบอร์ดสมัยก่อน ที่พอใครมีอันดับสูงๆ ก็จะสามารถเข้าไปแก้ไขโพสต์ของคนอื่นได้ Stuff (สิ่งของ)…
-
3 ปัจจัยที่ทำให้ Gamification ประสบความสำเร็จ
#Gamification ตอนที่12 ไปเจอคลิป YouTube มาอันนึงครับ น่าสนใจดีเกี่ยวกับการวิจัยเรื่อง Gamification คือได้มีนักวิจัย พยายามศึกษาว่า การใช้ Gamification เมื่อเทียบกับวิธีปรกติ นี่จะให้ผลต่างกันมั้ย ผลคือจากงานวิจัยหลายสิบชิ้นพบว่า มีทั้งที่ช่วยให้ได้ผลดีขึ้น แต่ก็มีบางงานวิจัยบอกว่ากลางๆไม่ช่วย และ บางงานบอกให้ผลแย่ลง นั้นทำให้นักวิจัยได้กลับมาทบทวน ว่าจริงๆแล้วอาจจะตั้งคำถามผิด เลยตั้งคำถามใหม่ว่า “อะไรคือปัจจัยที่ช่วยทำให้ Gamification ประสบความสำเร็จ” ซึ่งเขาได้พบว่ามี 3 ข้อ … ดังนี้ 1) System Quality – ระบบต้องทำออกมาให้เสถียร ดึงดูดและเหมาะสมกับคนเล่น เช่น ถ้าผู้เล่นเป็นวิศวกร ระบบมันก็ต้องแตกต่างจาก ระบบที่มีผู้เล่นเป็นศิลปิน 2) Learner Attributes – คือ ผู้เล่นหรือนักเรียนคนไหนมีประสบการณ์การเล่นเกมมาก่อนหรือไม่ ซึ่งถ้ามี ก็จะทำให้ Gamification มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ 3) Embedding Gamification into the right…
-
ประโยชน์ที่แท้จริงของ Gamification
#Gamification ตอนที่11 เวลาพูดถึงประโยชน์เกมมิฟิเคชั่น (Gamification) นั้น ปรกติเราจะมองกันว่า ก็เพื่อความสนุก หรือ เพื่อจูงใจให้คนอยากมาทำกิจกรรมของเรา ไม่ว่าจะมาสนุกกับการอบรมเรียนรู้ หรือ ในการทำงานบางอย่าง แต่จริงแล้วอยากจะบอกว่า ความสนุก นี้ไม่ใช่เจตนาหลักของการใช้เกมมิฟิเคชั่นครับ เพราะถ้าเราอยากให้กิจกรรมเราสนุก หรือ น่าสนใจ เราอาจใช้วิธีอื่นได้อีกมากมาย เช่น จ้างดารามาร่วมโปรโมทกิจกรรม ทำประชาสัมพันธ์ จัดอีเวนท์พิเศษ หรือกระทั่งแจกรางวัลผู้เข้าร่วม นอกจากถ้าเราได้ถามตัวเองย้อนขึ้นไปอีกขั้นว่า ถ้ากิจกรรมมันดีอยู่แล้ว ทำไมเราต้องใส่เทคนิคของเกม (Gamify) เข้าไปเพื่อสร้างความสนุกด้วย ดังนั้นเราต้องตอบตัวเองและเข้าใจก่อนว่า เกมมิฟิเคชั่นต่างจากวิธีอื่นตรงไหน เกมมิฟิเคชั่นช่วยด้านไหนกันแน่ และ เมื่อไหร่เราถึงควรจะใช้เกมมิฟิเคชั่น ………………………………… เกมมิฟิเคชั่น ดียังไงกันแน่? จุดเด่นของการออกแบบเกมต่างๆ คือ จิตวิทยาของการจูงใจให้คนเต็มใจมาเล่น (เพราะ เราไม่สามารถบังคับให้คนมาเล่นเกมเราได้) เล่นแล้วรู้สึกติด รู้สึกหงุดหงิดเวลาไม่ได้เล่น อยากกลับมาเล่นซ้ำๆ จนกระทั่งยอมเสียเงินและเสียเวลาเพื่อเล่นเกมเรา แปลง่ายๆคือ เกมสามารถจูงใจให้เราเต็มใจ “ทำพฤติกรรม” บางอย่างได้ครับ เช่น เต็มใจยอมเสียเงินเติมเกม เต็มใจกลับมาเล่นเกมซ้ำๆ เต็มใจที่จะกลับเข้าในเกม เพื่อรูดนิ้วบนจอไปมาเป็นร้อยๆพันๆรอบ…
-
ตัวอย่าง Gamification: Microsoft
#Gamification ตอนที่10 มาดูตัวอย่างของเกมมิฟิเคชั่นที่ช่วยให้งานที่น่าเบื่อ ไม่มีใครอยากทำ กลายเป็นงานที่สนุก แถมคนร่วมแรงร่วมใจกันได้ครับ ตัวอย่างนี้มาจาก Micorsoft ซึ่งก็เป็นตัวอย่างที่ค่อนข้างดังเวลาพูดถึงเกมมิฟิเคชั่น ทุกท่านอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า Microsoft มี Software ที่มีคนใช้กันทั่วโลก ซึ่งทาง Microsoft ก็ได้จ้างนักแปลมืออาชีพ คอยแปลภาษาอังกฤษให้เป็นทุกภาษาในโลกซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่ทีนี้ความยากอยู่ตรงที่ ต่อให้แปลดียังไง มันก็ยากมากที่จะทำให้ภาษาออกมาอ่านแล้วลื่นหูเหมือนเจ้าของภาษา ทาง Microsoft เลยตัดสินใจแก้ปัญหานี้ด้วยการ จัดกิจกรรมขื้นมาเรียกว่า Language Quality Game โดยให้พนักงาน Microsoft เข้าไปช่วยกันรีวิวภาษาของตัวเอง เช่น คนไทย ก็ช่วยกันเข้าไปรีวิวภาษาไทย ถ้าเจอจุดไหนบกพร่องก็แค่เขียนคำแนะส่งไป ถ้าโอเคก็กดผ่าน กติกาง่ายมาก … แต่ใครมันจะอยากไปเข้าร่วม เพราะลำพังแค่งานประจำก็ยุ่งพอแล้ว สิ่งที่พิเศษของโครงการนี้ที่ทำให้สนุกคือ เค้าได้จัดแข่งเป็นให้เป็นระดับประเทศ โดยพนักงานแต่ละคนจะเหมือนเป็นตัวแทนชาติตัวเอง ที่ต้องช่วยกันทำแต้มให้อันดับของประเทศตัวเองมีคะแนนสูงๆ ไม่สนว่าจะจริงๆแล้วตัวเองจะทำงานอยู่ประเทศไหน นั่นคือ พนักงานคนไทยทั่วโลก จะช่วยกันรีวิวภาษาไทย เพื่อทำแต้มให้ประเทศตัวเอง ทีนี้ก็สนุกเลย พนักงานเข้าร่วมเยอะมาก ชนิดที่ว่า Microsoft ญี่ปุ่นประกาศหยุดงาน 1…