-
Get It Done
เป็นหนังสือว่าด้วย เทคนิคเกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจ ว่าเราจะสามารถจูงใจตัวเองได้อย่างไรบ้าง ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งหนังสือจะเน้นไปทางการสร้างแรงจูงใจให้ทำอย่าง “ต่อเนื่อง” …ประมาณว่าไม่ท้อแท้เลิกทำไปก่อน ตอนแรกที่หยิบมาอ่าน ก็ยอมรับนะครับว่า คงไม่ได้มีอะไรใหม่ คิดว่าคงจะเหมือนเล่มอื่น ๆ แต่กลายเป็นว่า สิ่งที่เขียนในเล่มนี้ค่อนข้างใหม่มากเลย ไม่ได้อ่านเจอในเล่มอื่น ๆ เท่าไหร่ สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้ . สร้างแรงจูงใจให้ตัวเองสามารถทำอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร? หนังสือบอก ได้มีงานวิจัยวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะสร้างแรงจูงใจให้เราทำ Tracking Progress ครับ คือการบันทึกว่า ตอนนี้เราคืบหน้ามาแค่ไหนแล้ว และ ยังเหลืออีกเท่าไหร่กว่าจะบรรลุเป้าหมาย … ง่าย ๆ แค่นี้เลย เหมือนกับการออกวิ่งมาราธอน ที่เราต้องรู้ว่าตอนนี้วิ่งมาแล้วกี่กิโล แล้วยังขาดอีกเท่าไหร่ การได้รู้ความคืบหน้านี้ จะช่วยให้เราได้มองย้อนเห็นว่า เราได้ผ่านมาไกลขนาดไหนแล้ว ได้ทุ่มเทไปกับงานนี้เท่าไหร่แล้ว ซึ่งจะเพิ่มความมั่นใจ และ จูงใจให้กับเราก้าวเดินต่อไปจนบรรลุเป้าหมาย . Tracking Progress แบบไหนดี? แต่การ Tracking Progress นี่ ก็ทำได้สองแบบนะคือ มองว่า “ผ่าน” มาเท่าไหร่แล้ว […]
-
ขั้นตอนการออกแบบ Gamification
หลาย ๆ ครั้งเวลาผมได้ไปคุยกับบริษัทเรื่องออกแบบ Gamification ผมมักจะพบว่า แต่ละแห่งมักจะเริ่มต้นจาก หาว่าจะเอาแต้ม เอาตารางอันดับ หรือ เกม อะไรมาเล่นกันดี ซึ่งพอออกไป ๆ มา ๆ ก็งง ว่าสิ่งที่ทำไปเนี่ย มันตอบโจทย์หรือเปล่า เอาเข้าจริง ขั้นตอนการออกแบบ Gamification นี่มีหลายแนวทางครับ แต่แนวทางนึงที่ผมชื่นชอบเป็นการส่วนตัว คือ 6D Framework ของ Kevin Werbach เพราะขั้นตอนเข้าใจง่าย และ สามารถนำไปปรับใช้ได้ แม้ว่าจะได้ไม่เป็น Developer เพราะหลักคิดนี้จะเน้นให้เรามาทบทวน และ ทำความเข้าใจตัวเองให้ดีก่อนว่า โครงการนี้ของเราต้องการอะไรกันแน่ แล้วค่อยแตกย่อยเป็น เทคนิคเกมมิฟิเคชันในตอนหลัง มาดูกันครัช . Define Business Objectives (กำหนดวัตถุประสงค์) ขั้นตอนนี้คือการมาทบทวนดูว่า เป้าหมายหลักของโปรเจคเราคืออะไร ขั้นตอนนี้ง่าย เพราะว่าเวลาเราจะทำอะไรซักอย่างมันก็ต้องมีเป้าหมายอยู่แล้ว แต่ถ้ายังไม่รู้ว่าต้องการอะไรกันแน่ ควรหยุดคิด gamification แล้วมาทบทวนตรงนี้ให้ดีก่อนครับ Delineate […]
-
เกมมิฟิเคชันไม่ได้รับประกันว่าผลลัพธ์จะออกมาดี!
ทุกท่านที่ได้ติดตามอ่านเพจผมมาโดยตลอดก็อาจจะพอทราบกันดีแล้วว่า เป้าหมายหลักของ Gamification คือ จูงใจคนให้ทำพฤติกรรมบางอย่าง เช่น เราอยากให้พนักงานตั้งใจอบรม เรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเอง เป็นต้น ความสำเร็จของ gamification ในมุมหนึ่งก็คือ คนทำพฤติกรรมที่เราต้องการ ด้วยความสนุก เต็มใจ ไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ . เหมือนกับการแต่งจานอาหารของเด็ก ๆ ให้ออกมาน่ารัก น่าทาน …เช่น ตัดแครอทเป็นรูปดอกไม้ ทำไส้กรอกให้ออกมาเหมือนปลาหมึก หรือ จะแต่งอาหารทั้งจานให้ดูเหมือนตัวการ์ตูนไปเลย เช่น ตัวโปเกม่อน แต่การที่เด็กตั้งใจทานอาหาร ด้วยความสนุกสนาน ก็ไม่ได้การันตีว่า เด็ก ๆ จะได้สารอาหารครบ มีร่างกายแข็งแรง สิ่งที่เราต้องทำเป็นอันดับแรกคือ เตรียมอาหารให้ครบ 5 หมู่ ล้างให้สะอาด และ ปรุงให้สุก แล้วถึงค่อยมาแต่งจานให้สวยน่ากิน . นั่นก็คือ เกมมิฟิเคชันที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้การันตีว่า โครงการของเราจะได้ผลลัพธ์ออกมาดีตามต้องการ เช่น เกมมิฟิเคชันอาจช่วยให้พนักงานอบรมด้วยความสนุกสนาน แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าอบรมเสร็จแล้วพนักงานจะ มีความรู้ และ ทำงานได้ดีขึ้น สิ่งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาการอบรม […]
-
เทคนิค Gamification ที่ผู้ใหญ่ชอบ ในการอบรม หรือ training
gamification ได้ถูกนำไปใช้เยอะครับ ในด้านการอบรม training ต่าง ๆ ซึ่งโดยปรกติเรามักจะคิดว่า gamification นี่อาจจะเหมาะกับน้อง ๆ Gen Y ลงไป และ ผู้ใหญ่อาจจะไม่ค่อยอินกับ gamification แต่ก็มีการสำรวจครับ พบว่าผู้ใหญ่นี่ก็ชอบ gamification ในการเรียนรู้เหมือนกัน แต่เทคนิคที่ควรเอามาใช้อาจจะแตกต่างกับน้อง ๆ ซึ่งผลสำรวจออกมาน่าสนใจมากครับ . มาดูกัน ว่าเทคนิค gamification แบบไหนที่เหมาะกับใช้ในการอบรม หรือ training สำหรับผู้ใหญ่บ้าง เผื่อเอาไปปรับใช้กับงานของแต่ละท่านได้ 30% ชอบ การได้เลื่อนขั้นไปอีก level 27% ชอบ การได้แต้ม 26% ชอบ การได้รับ real-time performance feedback ว่าที่เพิ่งทำไปนั้นดีมากน้อยเพียงใด 25% ชอบ progress bar 24% ชอบ การที่มี activity feed […]
-
รีวิวหนังสือ Imagine If…
เป็นหนังสือว่าด้วยแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาสำหรับอนาคต เขียนโดยท่าน Sirs Ken Robinson นักการศึกษาชื่อดังแห่งยุค ที่เพิ่งเสียชีวิตไปไม่นาน จริง ๆ ถ้าใครเป็นแฟนหนังสือท่าน Ken Robinsons อ่านเล่มนี้แล้วอาจจะไม่ได้อะไรใหม่นัก เพราะเป็นเหมือนสรุปแนวคิดทั้งหมดของท่านไว้ในเล่มเดียว หนังสือไม่ยาวมาก กระชับ เนื้อ ๆ เน้น ๆ จนเวลาอ่านไม่สามารถข้ามท่อนไหนได้เลย ต้องค่อย ๆ อ่าน และคิดตามไปเรื่อย ๆ อ่านแล้วเหมือนกับตอนนั่งเรียนหนังสือ แล้วคาบสุดท้าย อ.กำลังสรุปทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาทั้งเทอม . ใจความหนังสือจะว่าด้วย แนวทางการศึกษาที่ควรจะเป็นเพื่อดึงศักยภาพของเด็กออกมาให้สูงที่สุด โดยที่ไม่จำเป็นต้องลิมิตอยู่แค่ในด้านวิชาการเท่านั้น สิ่งที่สถานศึกษา และ พ่อแม่ควรทำคือ สร้างบรรยากาศที่เด็กสามารถแสดงออกถึงตัวตน ได้ทดลองค้นหาตัวเอง และ เตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชากรที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหนังสือก็ครอบคลุมตั้งแต่ เนื้อการการเรียน บทบาทครู อาจารย์ พ่อแม่ ไปจน ผู้ที่มีหน้าที่ออกนโยบาย . หนังสือได้เสนอว่า ทักษะ 8 ด้าน ที่เราควรช่วยกันสร้างให้เกิดขึ้นในตัวเด็กคือ 1. Curiosity […]