-
เทคนิคเกมมิฟิเคชันยอดนิยม
ได้มีการศึกษาครับว่ากลไกเกมมิฟิเคชันยอดนิยมที่พบในบ่อยในปัจจุบันมีอะไรบ้าง ซึ่งนับได้ถึง 21 ประเภทเลยทีเดียว ลองมาดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง จะได้เอาไปปรับใช้กันได้ . ซึ่งจากการสำรวจนี้พบว่า point เป็นกลไกที่นิยมมากที่สุดครับ (ใช้ 79% ในระบบที่ศึกษาทั้งหมด) ตามมาด้วย achievement (78.4%) ในขณะที่กลไกที่พบน้อยที่สุดคือ boss fight (17.5%) และ gifting (13.8%) แต่ถึงบางเทคนิคจะบอกว่าพบน้อย แต่ก็ยังเป็นเทคนิคยอดนิยมอยู่ดีนะครับ ไม่ใช่ว่าไม่น่าสนใจ อ้างอิงจากหนังสือ for the win, revised and updated edition ครับ . #gamification ตอนที่ 66
-
แนวทางการเลือกเทคนิค Gamification
อีกคำถามที่มักจะพบเวลาออกแบบเกมมิฟิเคชันคือ จะเลือกใช้เทคนิคไหนดี หรือ จะเลือกรูปแบบกิจกรรมอย่างไรดี ถึงจะเหมาะสม และ ส่งเสริมให้เราบรรลุเป้าหมายโครงการ (business objective) ที่วางไว้ เพราะ เทคนิค และ รูปแบบของเกมมิฟิเคชันมันมีเยอะแยะ ลานตาไปหมด . ก็มี Framework ง่าย ๆ มาแนะนำให้ไปช่วยประกอบการวางแผนครับ เริ่มจากอยากให้ถามตัวเองก่อนว่า กลุ่มเป้าหมายของโครงการเรานั้นเน้นที่จูงใจ ลูกค้า (External) หรือ พนักงาน (Internal) จากนั้นให้ถามตัวเองก่อนว่า พฤติกรรมที่เราต้องการจะจูงใจนั้นเป็นแบบไหน ระหว่าง 1) จูงใจเป็นรายบุคคล (Solo) 2) จูงใจหลายคน ให้ร่วมกันทำอะไรบางอย่าง (Community) หรือ 3) จูงใจหลายคน ให้แข่งขันกันเพื่อ (Competitive) ทั้งนี้เราสามารถมีมากกว่า 1 แบบได้นะครับ แล้วแต่โปรเจคของเรา เช่น อยากให้พนักงานในสายการผลิตเพิ่ม productivity อาจจะเป็นการผสมระหว่าง จูงใจให้ช่วยกันแชร์ best practice และ […]
-
4 คำถามสำหรับศึกษากลไกเกม
ไม่ชอบเล่นเกมเลย แล้วจะศึกษาหรือออกแบบเกมมิฟิเคชันได้มั้ย มีหลายท่านที่เริ่มศึกษาเกมมิฟิเคชัน เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์และน่าจะเอามาปรับใช้ในที่ทำงานได้ แต่มีความกังวลคือ เป็นคนที่ปรกติไม่ได้เล่นเกม ไม่ค่อยรู้จักรูปแบบกลไกเกมต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องปรกติครับ คนที่ชอบเล่นเกมเป็นประจำเอง ก็ใช่ว่าจะเข้าใจเรื่องกลไกเกม ว่าจริงแล้วทำงานอย่างไรและส่งผลอย่างไรต่อผู้เล่น . ดังนั้นประเด็นจึงไม่ใช่แค่ว่า ชอบหรือไม่ชอบเล่นเกม ที่คือเราเข้าใจกลไกและการทำงานของเกมมั้ย ในคอร์สเกมมิฟิเคชันต่าง ๆ จึงมักจะเริ่มด้วยการให้ผู้เรียนได้ถอดรหัสเกม คือ ให้ลองเล่นเกมดูแล้วศึกษาว่าเกมนี้มีองค์ประกอบอย่างไร สนุกตรงไหน มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง เป็นต้นครับ ไม่จำเป็นต้องไปหาเกมใหม่มาเล่น อาจจะเริ่มจากเกมที่เคยเล่น เกมที่ชอบ ก็ได้ ลองไปตั้งวงเล่นเกมกับเพื่อนกับที่บ้านดู แล้วถอดรหัสด้วยคำถามเบื้องต้น 4 คำถามนี้ครับ กฎ กติกา และ เงื่อนไข (กลไก) ของเกมนี้มีอะไรบ้าง? เกมนี้มันทำงานอย่างไร? คำถามนี้จะช่วยให้เราได้ศึกษาและเข้าใจกลไกเกมครับ เช่นเกม angry bird เราจะต้องยิงนกให้โดนหมูให้หมด ถึงจะผ่านด่าน (คร่าว ๆ นะครับ) คุณสนุกกับการเล่นเกมหรือไม่? ถ้าใช่ ทำไมคุณถึงสนุก? แล้วถ้าไม่สนุก ทำไมคุณไม่สนุก? คำถามนี้จะช่วยให้เราได้ย้อนกลับมามองถึงความสนุก เข้าใจว่าอะไรคือปัจจัย […]
-
รีวิวหนังสือ Better Simpler Strategy
เป็นหนังสือที่ผมอ่านจบรวดเดียวด้วยความเมามันส์ อ่านแล้วยกให้เป็น Top10 ของปีนี้ได้เลย หนังสือจะพูดถึงแนวทางการวางกลยุทธ์ครับ … ซึ่งปรกติ การวางแผนกลยุทธ์เนี่ย เรามักจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน แต่หนังสือเล่มนี้บอกว่าจริงแล้วเราสามารถสรุปกลยุทธ์เหลือได้แค่ 2 มิติหลัก ๆ แค่นั้นเอง โดยด้านแรกคือฝั่งขาย เราต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกค้าเต็มใจที่จะจ่ายแพงที่สุด หนังสือเรียกว่า Willingness-to-pay (WTP) และอีกฝั่งคือต้นทุน ที่เราต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ทุนเราต่ำที่สุด โดยหนังสือเรียกว่า Willingness-to-sell (WTS) อยากให้นึกถึงตัว I โดย WTP อยู่ข้างบน และ WTS อยู่ด้านล่าง เราต้องการที่จะยืดตัว I นี้ให้ยาวที่สุด หรือคือ ขายให้แพงโดยมีต้นทุนต่ำ หนังสือบอกที่เราวางแผนกลยุทธ์ทั้งหมดก็วนเวียนอยู่กับตรงนี้หล่ะครับ . วิธีการเพิ่ม Willingness-to-pay (WTP) 1) ทำให้สินค้า/บริการของเรา ตอบโจทย์ costumer journey โดยหนังสือยกตัวอย่าง Kindle ของ Amazon ที่ชนะตลาด e-reader […]
-
Ethics of Gamification
Ethics of Gamification เราทุกท่านก็คงทราบกันดีแล้วนะครับว่าเกมมิฟิเคชันคือการจูงใจคนด้วยกลไกเกมเราสามารถใช้เทคนิคเกม ทำให้งานที่เคยน่าเบื่อนั้นสนุกขึ้น ไม่ว่าจะกับนักเรียน พนักงาน หรือ ลูกค้า . แต่ทีนี้ถ้าเราใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชันไป “หลอกล่อ” ให้คนทำในสิ่งที่เขาไม่อยากทำขนาดนั้น ยกตัวอย่างแบบง่าย ๆ คือ ทำให้เขารู้สึกสนุกกับการทำงาน จนทำงานหนักเกินจำเป็นล่ะ ประมาณว่าอยากเอาชนะ อยากจะได้รางวัล จนทำงานหามรุ่งหามค่ำ … แบบนี้ก็ไม่ค่อยโอเคละ แต่ถามว่าผิดมากหรือเปล่า? มันก็เป็นเส้นบาง ๆ ครับ ว่าแบบไหนเรียกว่าจูงใจ แบบไหนเรียกว่าหลอกล่อ (คือผมก็ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรดีนะ ขออนุญาตใช้คำว่าหลอกล่อไปก่อนละกันนะครับ ภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า Manipulate) . ผมรู้จักน้องคนหนึ่ง ที่ว่าง ๆ ก็ไปขับรถให้กับ App หนึ่ง ซึ่งน้องก็เล่าว่า ขับเพลินมากเลยเพราะใน App จะมีเป้าหมาย มี notification มีหลายอย่างจูงใจให้น้องเค้ารู้สึกอยากขับรถไปเรื่อย ๆ ซึ่งสุดท้ายขับแทบทั้งวันจนล้าไปหมด ตอนท้ายน้องเค้าก็ต้องตัดใจบอกว่า กำหนดให้ตัวเองขับแค่นี้ล่ะ ไม่ไปมากกว่านี้ละ . อย่างตัวผมเอง วันก่อนผมก็ไปจองโรงแรมเพื่อไปเที่ยวกับที่บ้าน […]