การแบ่งประเภทผู้เล่น ตามพฤติกรรม (Kim’s Social Action Matrix)

สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาในการออกแบบเกมมิฟิเคชัน คือ ผู้เล่นของเราครับ ว่าผู้เล่นของเรา เป็นใคร มีนิสัยยังไงบ้าง เพราะถ้าเราออกแบบ เกมมิฟิเคชันมาไม่เหมาะกับผู้ล่นของเรา ก็อาจจะทำให้ระบบของเราไม่สนุกได้

โดยวิธีการแบ่งได้หลากหลาย มากมาย ซึ่งที่ดังมากอันนึงก็เป็นของ ริชาร์ด บาร์เทิล ที่เรียกว่า bartle taxonomy

ก็ใช้ได้ดีครับ โดยเฉพาะกับเกมประเภทที่มีผู้เล่นหลายคน มีการแข่งขัน แต่มีจุดอ่อนในการเอามาปรับใช้กับเกมสันทนาการหรือเกมสำหรับการศึกษา

ซึ่งก็มีการแบ่งผู้เล่นอีกแบบ ที่ผมชอบเป็นการส่วนตัวเรียกว่า การแบ่งกลุ่มพฤติกรรมของคิม (Kim’s Social Action Matrix) โดยคุณเอมี โจ คิม จากหนังสือชื่อ Game Thinking จุดเด่นของการแบ่งแบบคิมคือเน้นที่ “การกระทำ”

คุณคิมได้แบ่งการกระทำที่ผู้เล่นชอบทำออกเป็น 4 ประเภท โดยใช้แกนตั้งคือ การชอบเป็นผู้กระทำหรือชอบเข้าไปมีส่วนร่วม และ แกนนอนเป็นการให้ความสำคัญกับผู้เล่นคนอื่นหรือตัวเนื้อหา จึงทำให้เกิดเป็นการกระทำ 4 กลุ่มหลักๆ ที่คนชอบทำขึ้นมา ได้แก่

  1. การแข่งขัน

การกระทำของกลุ่มนี้อยู่ด้านซ้ายบนของตาราง ซึ่งคือกลุ่มการกระทำที่เน้นไปยังผู้เล่นคนอื่นๆ ในเกม ได้แก่ การแข่งขัน การเอาชนะ การต่อสู้ ไปจนถึงการได้กลั่นแกล้ง ซึ่งผู้เล่นที่ชอบการกระทำในกลุ่มนี้ชอบที่จะได้พัฒนาตนเองให้เก่งขึ้น ชอบที่จะเรียนรู้และสนุกกับการแข่งขันที่ท้าทาย

  • การร่วมมือ

เป็นกลุ่มการกระทำที่เน้นไปยังการบรรลุเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้เล่น ซึ่งจะอยู่ด้านซ้ายล่างของตาราง ผู้เล่นกลุ่มนี้จะมีความสุขเมื่อได้เล่นเกมที่ชนะร่วมกัน เขาจะสนุกที่ได้สร้างพันธมิตร ทำงานเป็นทีม ได้ช่วยเหลือคนอื่น ได้แบ่งปัน หรือกระทั่งการได้ชื่นชมคนอื่น ผู้เล่นประเภทนี้จะมีความสุขมากเมื่อได้เล่นเกมประเภททีม

  • การสำรวจ

เป็นกลุ่มของการกระทำทางด้านขวาล่างของตาราง นักเล่นเกมประเภทนี้จะชื่นชอบในการได้เรียนรู้ ได้สำรวจค้นคว้าหาช่องว่างจุดอ่อนต่างๆ ของเกม หรือแม้แต่การได้สะสมอะไรบางอย่างในเกม ซึ่งเขาชอบที่จะแสดงให้คนอื่นเห็นว่าเขาได้ค้นพบอะไร ได้เรียนรู้อะไรที่คนอื่นไม่รู้ นอกจากนี้ยังชอบที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งผู้เล่นประเภทนี้จะน่าสนใจตรงที่บางครั้งจะชื่นชอบในการเล่นเกมคนเดียว ไม่ต้องมีผู้เล่นคนอื่นก็ได้

  • การแสดงออก

คือกลุ่มการกระทำด้านขวาบน ที่ได้แก่การแสดงออกให้คนอื่นได้เห็นถึงตัวตนที่แตกต่าง เช่น การได้ออกแบบตัวละคร การซื้อของมาตกแต่งสร้างความสวยงามให้กับตัวละครหรือเมืองของตัวเองในเกม คนกลุ่มนี้จะชอบการได้แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์และการเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างจากคนอื่น นอกจากนี้ พวกเขาจะพอใจเป็นพิเศษเวลาได้รับการยอมรับหรือการชื่นชมจากผู้เล่นคนอื่น

ข้อดีของการแบ่งประเภทผู้เล่นแบบคิมนี้คือ จะช่วยให้คุณสามารถออกแบบเกมมิฟิเคชันได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ได้เป็นการแบ่งที่นิสัย แต่แบ่งจากตัวพฤติกรรมโดยตรง

.

ก็ลองเอาไปปรับใช้กันได้ครับ 

#gamification ตอนที่48

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: